01 July 2007

การเลือกซื้อโน๊ตบุค

เลือกโน้ตบุ๊กคู่ใจในแบบฉบับของคุณ

ณ ช่วงเวลาอันเร่งรีบนี้ อุปกรณ์ไอทีแบบเคลื่อนที่อย่าง "โน้ตบุ๊ก" กำลังเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจมากสำหรับนักธุรกิจหรือบุคคลที่ต้องการความสะดวกสบายในการใช้งาน เพราะในปัจจุบันนี้การเติบโตของโน้ตบุ๊กนั้น กำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีความสามารถ ที่เทียบเท่าหรือ สูงกว่าเครื่องเดสก์ทอปบางตัวด้วยซ้ำไปแล้วจึงทำให้โน้ตบุ๊กเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยในเรื่องของความคล่องตัวในการใช้งาน อีกทั้งยังมีสมรรถนะที่มากเกินตัวด้วยซ้ำไป และด้วยเทคโนโลยี Sonoma ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มใหม่ล่าสุดของ Intel Centrino Mobile Technology จึงทำให้โน้ตบุ๊กมีความสามารถที่เพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น อีกยังในตอนนี้ยังมีโน้ตบุ๊กแบบ BTO กำเนิดขึ้นมาอีก ซึ่งสามารถที่จะทำการจัดสเปคเองได้อีก ทำให้ถูกใจผู้ใช้อีกหลายๆ คนเลยทีเดียว

ส่วนประกอบต่างๆ ของโน้ตบุ๊ก โดยส่วนใหญ่แล้วโน้ตบุ๊กจะมีโครงสร้างและลักษณะที่คล้ายๆ กัน จะมีแตกต่างกันกตรงที่น้ำหนัก สเปกภายในเครื่อง วัสดุที่ใช้ทำตัวเครื่อง และสีสัน รูปร่างหน้าตา ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของโน้ตบุ๊กของแต่ละยี่ห้อ ส่วนประกอบและโครงสร้างจะคล้ายคลึงกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเดสก์ท็อป ทั่วๆ ไป คือมีทั้ง ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ต่างๆ ว่าแล้วก็มาเริ่มลงรายละเอียดกันเลยดีกว่าครับ
"โปรเซสเซอร์" หรือ "ซีพียู" (CPU : Central Processing Unit) หัวใจสำคัญที่ส่งผลโดยตรงกับความเร็วในการประมวลผลของโน้ตบุ๊กก็คือ "ซีพียู" สำหรับโน้ตบุ๊กนี้นั้น จะมีซีพียูที่ผลิตมาใช้งานกับโน้ตบุ๊กหลักๆ อยู่ 3 ค่ายด้วยกัน คือ อินเทล (Intel), เอเอ็มดี (AMD) และทรานเมต้า (Transmeta) ซึ่งทั้งสามค่ายต่างก็ต่อสู้กันมาโดยตลอด แต่ค่ายที่ได้รับความนิยมและ ประสบผลสำเร็จมากที่สุดก็เห็นจะเป็นซีพียูจากค่ายของอินเทลผู้นี้นี่เอง ซีพียูที่ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กนั้นจะมีด้วยกันหลายแบบ และหลาย ประเภท ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงแต่เฉพาะซีพียูที่มีขายในปัจจุบัน และเป็นซีพียูรุ่นที่หน้าสนใจของตลาด โดยจะเริ่มจากซีพียูของอินเทลก่อนเลยครับ
ซีพียูอินเทลหลักๆ แล้วก็จะมีอยู่ด้วยกัน 3 รุ่น คือ เซลเลอรอน, เพนเทียมโฟร์ และเพนเทียมเอ็ม ซึ่งในแต่ละรุ่นก็ยังจะมีการแตกไลน์ออกไปอีก คือมีทั้งรุ่น ที่เป็นโมบาย (Mobile) และเป็นรุ่นธรรมดา แต่ ณ ปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ผลิตโน้ตบุ๊กจะเลือกใช้ซีพียูที่เป็นโมบายเสียเป็นส่วนใหญ่ครับ

Mobile Intel Celeron Processor ในส่วนของซีพียูที่เป็นโมบายนั้น จะถูกแบ่งออกเป็น 3 รุ่นด้วยกัน ซึ่งในการแบ่งรุ่นนี้นั้น จะใช้การกินกระแสไฟ เป็นตัวบ่งบอก โดยจะมีในรุ่น Low Volt ซึ่งจะมีความเร็ว 866MHz, 733MHz ความเร็วบัส 133MHz FSB และ 650MHz ความเร็วบัส 100MHz FSB และรุ่น Ultra Low Volt จะมีความเร็ว 800MHz, 733MHz ความเร็วบัส 133MHz FSB และรุ่นความเร็ว 700MHz, 650MHz ความเร็วบัส 100MHz FSB นอกจาก
นั้นก็จะเป็นรุ่นธรรมดาซึ่งจะมีอยู่สองส่วนด้วยกันคือ รุ่นความเร็วบัส 133MHz ซึ่งจะมีความเร็ว 1.06GHz, 1.13GHz, 1.20GHz, 1.26GHz และ 1.33GHz ส่วนอีกรุ่นจะเป็นรุ่นความเร็วบัส 400MHz FSB ก็จะมีความเร็วตั้งแต่ 1.40GHz ถึง 2.50GHz โดยทั้งหมดนี้จะใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ 0.13 ไมครอน และมีขนาด L2 Cache 256KB กับ 128KB และมีชิปเซตที่สามารถรองรับการทำงานได้ดังนี้ 440ZX, 440MX, 815EM, 830MP, 830M, 830MG ซึ่งจะใช้หน่วยความจำแบบ SDRAM และ 852GM จะใช้หน่วยความจำแบบ DDR SDRAM

Intel Celerron Processor ซีพียูอินเทลซลเลอรอนจะใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ 0.13 ไมครอน และมีความเร็วตั้งแต่ 2.20GHz ถึง 2.80 GHz ใช้ความเร็วบัส 400MHz FSB มีขนาด L2 Cache 128KB สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำ แบบ DDR SDRAM ชิปเซตที่สามารถรองรับได้ก็จะมี 852GM, 852GME และ 852PM
Intel Celeron M Processor อินเทลเซลเลอรอนเอ็มเป็นซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุดของตระกูลเซลเลอรอน และเป็นเจนเนอร์เรชันใหม่ของ ซีพียูเซลเลอรอน ด้วย ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 2 รุ่นคือ รุ่นธรรมดา (Standard Volt) มีความเร็ว 1.20GHz, 1.30GHz และ 1.40 GHz ส่วนอีกรุ่นก็จะเป็นรุ่น Ultra Low Volt มีความเร็ว 800MHz และ 900MHz ใช้เทคโนโลยี ในการ ผลิตที่ 0.13 ไมครอน มีขนาด L2 Cache 512KB มีความเร็วบัส 400MHz FSB ใช้งานกับชิปเซตตระกูล 855 และชิปเซต 852GM
Mobile Intel Pentium III Processor-M สำหรับซีพียูอินเทลเพนเทียมทรีเอ็มรุ่นนี้นั้น ยังคงมีให้เห็นกันอยู่บ้าง แต่เริ่มลดลงแล้ว เพราะได้ถูกแทนที่ด้วย ซีพียูอินเทลเพนเทียมเอ็มที่เป็นเซนทริโน โดยซีพียูอินเทลเพนเทียมทรีเอ็มจะใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ 0.13 ไมครอน มีขนาด L2 Cache 512KB และจะแบ่งเป็นรุ่น Low Volt ได้แก่ความเร็ว 1GHz, 933MHz, 866MHz และ 800MHz ที่มีความเร็วบัส 133MHz FSB และความเร็ว 850MHz กับ 800A MHz ที่มีความเร็วบัส 100MHz FSB ส่วนในรุ่นประหยัดพลังงานอย่าง Ultra Low Volt จะมีความเร็วที่ 933 MHz, 866MHz และ 800MHz ความเร็วบัส 133MHz FSB และรุ่นความเร็ว 900MHz, 850MHz และ 800MHz ที่ความเร็วบัส 100MHz FSB ใช้งานกับชิปเซตอินเทลตระกูล 830 สนับสนุนการทำงานกับ หน่วยความจำ SDRAM ความเร็ว 133MHz

Mobile Intel Pentium4 Processor ซีพียูตระกูลอินเทลเพนเทียมโฟร์ เป็นอีกซีรี่หนึ่งที่เต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยขนาด L2 Cache 512KB ความเร็วเร็วบัส 533MHz FSB ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ 0.13 ไมครอน มีความเร็วตั้งแต่ 2.40GHz, 2.66GHz, 2.80GHz และ 3.06GHz นอกจากนั้นก็ยังจะมีซีพียูที่รองรับเทคโนโลยี Hyper-Threading ตั้งแต่ความเร็ว 2.66GHz, 2.80GHz, 3.06GHz และ 3.20GHz ทำงานร่วมกับชิปเซต 852 GME และ 852PM ที่สนับสนุนการทำงานกับหน่วยความจำ DDR SDRAM รองรับความเร็ว 333/ 266 MHz

Mobile Intel Pentium4 Processor-M อินเทลเพนเทียมโฟร์เอ็ม เป็นซีพียูที่ผลิตด้วยโทคโนโลยี 0.13 ไมครอน พร้อมด้วย Enchanced Intel SpeedStep Technology ที่เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยประหยัดพลังงานจากแบตเตอรี่ และเป็นการปรับ ความเร็วซีพียูในการใช้งานให้เหมาะสมกับแอพพลิเคชันนั้นๆ ใช้ความเร็วบัส 400MHz FSB โดยจะมีความ เร็วตั้งแต่ 1.40GHz ถึง 2.60GHz และจะใช้งานร่วมกับชิปเซตตระกูล Mobile Intel 845 สนับสนุนการ ทำงานกับหน่วยความจำ DDR SDRAM รองรับความเร็ว 200/266MHz

Intel Pentium M Processor (Banias\Dothan) สำหรับซีพียูตระกูลนี้จัดว่าเป็นรุ่นที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน และประสิทธิภาพในการประหยัด พลังงานที่ดีที่ สุดอีกรุ่นหนึ่ง ที่เป็นรุ่นมาปฏิวัติวงการโน้ตบุ๊กของโลกเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นการรวบรวมเอาความสามารถ ในการ ใช้งานแบบไร้สายเข้าไว้ด้วยในตัว อีกทั้งยังเป็นการผสมผสานการทำงานที่ยอกเยี่ยม จึงถือว่าเป็นสุดยอดซีพียู แห่งยุคเลยก็ว่าได้ ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ 0.13 ไมครอน (130nm) มีขนาด L2 Cache ถึง 1MB ใช้ความ เร็วบัส 400MHz FSB ซึ่งจะมีทั้งรุ่น Standard, Low Volt และ Ultra Low Volt โดยในรุ่นธรรมดา (Standard) จะมีความเร็ว 1.30GHz, 1.40GHz, 1.50GHz, 1.60GHz และ 1.70GHz ส่วนในรุ่น Low Volt จะมีความเร็ว 1.10GHz, 1.20GHz และ 1.30GHz และส่วนในรุ่น Ultra Low Volt จะมีความเร็ว 900MHz, 1GHz และ 1.10GHz ใช้งานร่วมกับชิปเซตอินเทล 855GM, 855PM และ 855GME สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำ DDR SDRAM สามารถที่จะรองรับหน่วยความจำได้สูงสุดถึง 2GB และล่าสุดเพิ่งเปิดตัวในบ้านเราไปเมื่อวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา กับเจนเนอร์เรชันใหม่ของซีพียูอินเทล "เซนทริโน" โมบายเทคโนโลยี โค้ดเนม Dothan ที่ใช้สถาปัตยกรรม 90nm ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ 0.13 ไมครอน กับ L2 Cache ขนาดมหึมาถึง 2MB (2048KB) ใช้ความเร็วบัส 400MHz FSB ซึ่งจะมีความเร็ว ตั้งแต่ 1.70GHz, 1.80GHz และ 2GHz ใช้งานร่วมกับชิปเซตอินเทล 855GM, 855PM และ 855GME สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำ DDR SDRAM สามารถที่จะรองรับหน่วยความจำได้สูงสุดถึง 2GB
เทคโนโลยี Sonoma แพลตฟอร์มใหม่ล่าสุดของ Intel Centrino Mobile Technology เทคโนโลยี Sonoma นั้นได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อต้นปี 2548 นี้เอง ซึ่งหลายคนคงจะได้ประจักษ์ในความสามารถที่เปี่ยมประสิทธิภาพของมันแล้ว โดยเทคโนโลยีนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอีกขั้นหนึ่งของวงการโน้ตบุ๊กในบ้านเรา แพลตฟอร์ม Sonoma นี้ ยังคงได้รับประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมจาก Intel Centrino Mobile Technology อยู่แต่ก็มีอยู่หลายส่วนที่มีการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพที่ทรงพลังมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านมาตรฐานของซีพียูเอง ชิปเซตตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพที่สูงมากยิ่งขึ้น หน่วยความจำที่เพิ่มความสามารถโดยรวมของระบบให้โดดเด่นมากขึ้นกว่าเดิม ระบบการฟิก PCI Express และมาตรฐานการสื่อสารแบบไร้สายที่มีอัตราการส่งข้อมูลที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
สิ่งที่มาพร้อมกับแพลตฟอร์ม Sonoma การเปลี่ยนแปลงของระบบ Sonoma นี้มีอยู่หลายส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงและก็มีบางส่วนที่ยังคงใช้ระบบ Intel Centrino Mobile Technology อยู่ มาตรฐานซีพียูที่มากับแพลตฟอร์ม Sonoma นี้มาพร้อมกับซีพียู Intel Pentium M ในรหัส Aluiso ที่มีรุ่นใหม่ๆ ออกมาอีกหลายรุ่น โดยมีความเร็วที่แตกต่างกันออกไปในช่วงระหว่าง 1.2 GHz - 2.13 GHz โดยมีทั้งที่เป็นรุ่น ULV (Ultra Low Voltage) และรุ่น LV (Low Voltage) โดยจะมีรุ่นท็อปอย่าง Intel Pentium M 770 ซึ่งเป็นรุ่นที่มีความเร็วสูงมากถึง 2.13 GHz และมีหน่วยความจำแคช L2 ที่ขนาด 2MB พร้อมกับระบบบัส (FSB) 533 MHz ถือว่าเป็นซีพียูความเร็วสูงอีกรุ่นที่น่าสนใจมาก ชิปเซตเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยได้สลัดคราบของชิปเซตเดิมอย่าง Intel 855 ทิ้งไปและได้เสริมความสามารถให้สูงขึ้นด้วยชิปเซตตัวใหม่อย่าง Intel 915 Express เข้าไป ซึ่งชิปเซตในตระกูล Intel 915 Express นี้สามารถแบ่งได้เป็น 4 รุ่นหลักๆ คือ Intel 915PM, Intel 915GM, Intel 915GMS และ Intel 910GML โดย Intel 915PM ถือเป็นรุ่นที่มาพร้อมกับระบบกราฟิกแยกต่างหาก ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการแสดงด้านกราฟิกนั้นสูงมากยิ่งขึ้น ส่วนรุ่นที่เหลือนั้นได้พกพาชิปเร่งกราฟิกจาก Intel Graphics media Accelerator 900 เพื่อเพ่ามประสิทธิภาพในการประมวลผลให้ดีมากขึ้น หน่วยความจำหลักแบบ DDRII นั้น เป็นมาตรฐานใหม่สำหรับคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กซึ่งเราคงจะเห็นกันในเครื่องเดสก์ทอปกันมาบ้างแล้วว่ามีประสิทธิภาพที่สูงมากเพียงใด ที่สำคัญมีการเพิ่มค่าแบนด์วิดท์เพิ่มขึ้นจากเดิม โดยหน่วยความจำแบบ DDRII นี้นั้นมีให้เลือกหลายรูปแบบ เช่น DDRII 400, DDRII 533 และ DDRII 677 มีจำนวนพิน 200 pin ให้ค่าแบนด์วิดท์ 3.2GB/s, 4.3GB/s และ 5.3GB/s ตามลำดับ โดยกินไฟเพียงแค่ 1.8 โวลต์เท่านั้น สิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอีกอย่างคือใช้ระบบกราฟิกแบบ PCI Express ซึ่งจะผสมผสานการใช้งานร่วมกับชิปเซต Intel 915PM โดยเฉพาะ ส่วนชุดเร่งกราฟิกอย่าง Intel Graphics media Accelerator 900 นั้น ถือเป็นชุดกราฟิกที่รวมอยู่บนชิปเซต แต่ก็ยังมีความโดดเด่นมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ Dynamic Video Memory Technology (DVMT) สำหรับการดึงทรัพยากรระบบมาใช้ได้อย่างคุ้มค่า ถือว่มีความสามารถที่ไม่ทิ้งกับระบบกราฟิกที่แยกต่างหากเลย อีกส่วนหนึ่งที่จะทำให้ระบบ Sonoma นั้นสมบูรณ์มากที่สุดนั้น คือมาตรฐานการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้ชิปเซต Intel PRO/Wireless 2915ABG ซึ่งสนับสนุนเทคโนโลยีไร้สายทั้ง 3 มาตรฐานคือ 802.11a, 802.11b และ 802.11g ทำให้ครอบคลุมทุกการใช้งานมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ระบบ Sonoma ยังเพิ่มลูกเล่นใหม่ๆ อีกมาก เช่น ระบบเสียงแบบดิจิตอล 7.1 แชนแนล เพื่อเพิ่มความบันเทิงให้มากยิ่งขึ้นด้วย แต่ในปัจจุบันระบบ Sonoma ในโน้กบุ๊กหลายๆ แบรนด์นั้น ยังคงนำเทคโนโลยี่ดังกล่าวมาใส่ไม่ครบ เนื่องจากยังเป็นช่วงที่ของการเปลี่ยนแปลงช่วงแรกๆ ซึ่งอีกไม่นานเราคงจะเห็นระบบ Sonoma นี้อย่างสมบูรณ์แบบและครบครันมากกว่านี้ครับ
การทำงานของชิปเซต Intel 915PM Express
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อโน้ตบุ๊ก เลือกซื้ออย่างไรให้คุ้มค่า ทางทีมงานคงไม่สามารถจะไประบุได้ว่าคุณจะต้องซื้อเครื่องรุ่นนี้ ยี่ห้อนั้น ในราคาเท่านั้นเท่านี้ เพราะมันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจิตใจและความต้องการ รวมทั้งความชื่นชอบของแต่ละบุคคลด้วยครับ เพราะในความเป็นจริงแล้วนั้น คุณเองต่างหากที่จะต้องเป็นผู้ที่ตัดสินใจในการเลือกซื้อ ทางทีมงานมีหน้าที่เพียง ในการนำเสนอข้อมูลให้เท่านั้น และข้อมูลต่างๆ ที่ทางทีมงานจะนำเสนอต่อไปนี้นั้น ถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญๆ ที่ไม่ควรจะมองข้ามหรือพิจารณา ในการเลือกซื้อ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา "โน้ตบุ๊ก" เลยสักนิด และทางทีมงานก็อยากที่จะให้คุณๆ ทั้งหลายได้คิดอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อโน้ตบุ๊กสักเครื่อง ไม่ว่าจะมีราคาเท่าไรก็ตาม เพราะสิ่งหนึ่งที่ต้องจดจำไว้อย่างก็คือเรื่องของการอัปเกรดนั้นเองครับ เพราะตัวที่คุณสามารถจะอัปเกรดได้นั้นก็จะ มีเพียงแค่การ เพิ่มแรม เพิ่มความจุฮาร์ดดิสก์ เปลี่ยนซีดีรอม แต่ไม่สามารถเปลี่ยนซีพียู หรือองค์ประกอบอื่นๆ อีกหลายอย่างได้ เว้นเสียแต่ว่าจะเป็นเครื่องที่ได้ถูกออกแบบมา ให้สามารถที่จะเปลี่ยนซีพียูได้ แต่นั้นอาจจะต้องแลกมาด้วยราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วยครับ

No comments: