01 July 2007

รีวิว Sony Ericsson W880i




แรกเห็นหลังประสบความสำเร็จกับการเปิดตัวโทรศัพท์มือถือ Walkman Phone ไปหลายรุ่น ซึ่งแต่ละรุ่นก็มีดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มาปีนี้ Sony Ericsson ก็ยังไม่หยุดที่จะพัฒนาโทรศัพท์มือถือ Walkman Phone รุ่นใหม่ๆ ออกมา โดยรุ่นล่าสุดที่ออกมาก็คือรุ่น W880i ซึ่งเป็นโทรศัพท์มือถือ Sony Ericsson รุ่นที่บางที่สุดในตอนนี้เลยก็ว่าได้รูปทรงของเครื่อง Sony Ericsson W880i เป็นแบบ Bar Type ดีไซน์แบบบาง ด้วยขนาด 103x46.5x9.4 มิลลิเมตร น้ำหนัก 71 กรัม มี 2 สีให้เลือกคือ ดำ (Flame Black) กับเงิน (Steel Silver) รูปลักษณ์ทั่วไปเริ่มจากด้านหน้าเครื่องตั้งแต่ด้านบนลงมามีเลนส์ของกล้องดิจิทัลสำหรับใช้งาน Video Call พร้อมช่องลำโพงสนทนา และสัญลักษณ์ Walkman ถัดลงมาเป็นหน้าจอแสดงผล และแผงปุ่มกดใช้งานพลิกมาด้านหลังตรงมุมซ้ายบนมีเลนส์ของกล้องดิจิทัล สำหรับถ่ายภาพนิ่ง/วิดีโอ พร้อมโลโก้ตัวอักษร Sony Ericsson และช่องลำโพงสำหรับฟังเพลง ด้านซ้ายข้างเครื่องมีปุ่มลัดเข้าสู่เครื่องเล่นเพลง และช่องสำหรับเสียบสายชาร์จแบตเตอรี่ ชุดหูฟัง และสายดาต้าลิงค์ในช่องเดียวกัน ส่วนด้านขวามีปุ่มเลื่อนขึ้นลงสำหรับปรับเสียงซึ่งใช้เป็นปุ่มปรับซูมในเมนูกล้องได้ ถัดลงมาเป็นปุ่มใช้งานกล้องดิจิทัล
ทดลองใช้งานการใส่ SIM CARD วิธีใส่ SIM Card ของเครื่อง Sony Ericsson W880i เริ่มจากการถอดฝาหลัง โดยพลิกเครื่องมาด้านหลังในแนวนอนแล้วใช้นิ้วงัดตรงช่องที่อยู่บริเวณด้านข้างทั้ง 2 ด้านที่อยู่ด้านท้ายของฝาหลังออกมาแล้วหยิบออกจากเครื่อง จากนั้นถอดแบตเตอรี่โดยใช้นิ้วงัดตรงช่องที่อยู่ด้านขวาบนเหนือช่องใส่แบตเตอรี่และหยิบออกจากเครื่อง สำหรับช่องใส่ SIM Card ของเครื่องรุ่นนี้อยู่ด้านซ้ายล่างถัดจากช่องใส่แบตเตอรี่ ให้นำ SIM Card ที่ใส่เข้าไปในช่องตามรูปสัญลักษณ์ หลังจากที่ใส่เสร็จเรียบร้อยแล้วให้นำแบตเตอรี่และฝาหลังใส่กลับเข้าไปตามเดิม โดยสอดแบตเตอรี่เข้าไปในช่องก่อนและปิดด้วยฝาหลังแล้วทำการเปิดเครื่องก็สามารถใช้งานได้ การเปิด-ปิดเครื่องปุ่มเปิดเครื่อง Sony Ericsson W880i ใช้ปุ่ม C โดยกดค้างไว้ประมาณ 1-2 วินาทีเครื่องก็จะทำการเปิดขึ้นมาพร้อมภาพแอนิเมชันโลโก้ Sony Ericsson ในพื้นหลังสีดำ จากนั้นเครื่องจะเข้าสู่หน้าจอ Start phone เพื่อให้เลือกระหว่าง Normal mode สำหรับใช้งานปกติกับ Flight mode สำหรับใช้งานบนเครื่องบิน เมื่อเลือกที่ Normal mode เครื่องก็จะทำการค้นหาสัญญาณเครือข่ายก่อนเข้าสู่หน้าจอการใช้งานหลักพร้อมใช้งานภายในหน้าจอหลักประกอบด้วยภาพวอลเปเปอร์ ซึ่งสามารถเลือกเปลี่ยนเป็นภาพวอลเปเปอร์ปกติโดยเข้าไปที่เมนู Settings>Display>Wallpaper>Picture แล้วเลือกภาพที่ต้องการ หรือเปลี่ยนเป็นรูปแบบธีมให้เข้าไปที่เมนู Settings>Display>Wallpaper>Themes ส่วนการปิดเครื่องนั้นก็ใช้ปุ่มเดียวกันกับปุ่มเปิดเครื่อง ให้กดค้างไว้สักครู่เครื่องก็จะปิดพร้อมภาพแอนิเมชัน Sony Ericsson และเสียง Polyphonic ประกอบปุ่มกดและความเหมาะมือปุ่มกดใช้งานของเครื่องรุ่นนี้ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ ส่วนแรกเป็นปุ่มสำหรับควบคุมการใช้งานของเครื่องได้แก่ ปุ่ม Navigator Key แบบ 5 ทิศทาง, ปุ่ม Soft Key ซ้าย-ขวา, ปุ่มใช้งานอินเทอร์เน็ต, ปุ่มใช้งานเมนูที่ใช้งานบ่อยๆ, ปุ่มย้อนกลับ และปุ่ม C อีกส่วนเป็นแผงปุ่มกดตัวเลขซึ่งดีไซน์แบบแถบเส้น แต่มีช่องว่างระหว่างปุ่ม ทำให้กดใช้งานง่ายและสะดวก นอกจากนี้ยังมีปุ่มที่อยู่ด้านข้างเครื่องอีก 2 ปุ่ม โดยด้านซ้ายเป็นปุ่มสำหรับใช้งานเครื่องเล่นเพลง ส่วนปุ่มที่อยู่ด้านขวาข้างเครื่องเป็นปุ่มสำหรับใช้งานกล้องดิจิทัล ส่วนความเหมาะมือนั้น เท่าที่ได้ลองจับเครื่องและลองถือใช้งานดู ถือว่ามีความกระชับมือเป็นอย่างดี เนื่องจากตัวเครื่องมีขนาดกะทัดรัด บางและมีน้ำหนักเบา ทำให้ไม่เป็นปัญหาในส่วนนี้เลยเมนูการใช้งานหน้าตาเมนูใช้งานของเครื่อง Sony Ericsson W880i นั้นแสดงผลเป็นรูปไอคอนเรียงกัน 4 แถวๆ ละ 3 เมนู รวมทั้งหมด 12 เมนู การเข้าสู่เมนูนั้นสามารถทำโดยกดที่ตรงกลางของปุ่ม Navigator Key หรือกดที่ปุ่ม Soft Key ด้านขวาของเครื่อง ซึ่งเมนูหลักทั้ง 12 เมนูมีดังนี้
PlayNow เป็นเมนูสำหรับเข้าสู่เว็บไซต์ของ Sony Ericsson เพื่อดาวน์โหลดภาพวอลเปเปอร์ เสียงเรียกเข้า เกม และแอบพลิเคชันต่างๆ
Internet เป็นเมนูในการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน WAP Browser รวมทั้งการตั้งค่าการใช้งาน
Entertainment เมนูที่รวบรวมมัลติมีเดียต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย เกม, VideoDJ, PhotoDJ, MusicDJ, Remote Control, Record Sound, และ Demo Tour
Camera เมนูการใช้งานกล้องดิจิทัล สามารถเลือกถ่ายได้ทั้งภาพนิ่ง และวิดีโอพร้อมเสียง
Messaging เป็นเมนูสำหรับรับส่งข้อความแบบ SMS, MMS, Voice Message, และ Email โดยมีเมนู My Friends สำหรับรับส่งข้อความแบบ Chat รวมทั้งข้อความสำเร็จรูปอยู่ในเมนูนี้ด้วย
Walkman เมนูสำหรับเข้าสู่เครื่องเล่นเพลงและไฟล์วิดีโอ
File Manager เมนูที่ใช้ในการจัดการไฟล์ต่างๆ ในเครื่อง ประกอบด้วย ไฟล์ภาพ ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เสียง ธีม ไฟล์เว็บเพจ เกม แอบพลิเคชัน และไฟล์อื่นๆ
Contacts หรือสมุดโทรศัพท์ ประกอบด้วยตัวเลือกซึ่งใช้ในการปรับแต่งการบันทึกสมุดโทรศัพท์ เช่น ตั้งเบอร์โทรด่วน สร้างนามบัตรส่วนตัว จัดกลุ่มหมายเลข ฯลฯ และอีกส่วนเป็น New Contact ใช้ในการบันทึกเบอร์ใหม่
TrackID เมนูสำหรับใช้บริการจดจำเพลง
Calls เมนูสำหรับดูรายละเอียดการใช้งานโทรศัพท์ ทั้งเบอร์ที่โทรออก เบอร์ที่รับสาย เบอร์ที่ไม่ได้รับสาย
Organizer เมนูการใช้งานออร์แกไนเซอร์ประกอบด้วย การตั้งเสียงปลุก โปรแกรม วิดีโอคอลล์ ปฏิทิน งาน บันทึกย่อ การซิงโครไนซ์ นาฬิกาตั้งเวลา นาฬิกาจับเวลา เครื่องคิดเลข และส่วนบันทึกรหัส
Setting เมนูตั้งค่าส่วนต่างๆ ในโทรศัพท์ประกอบด้วย 5 ส่วนหลักคือ General (ส่วนของการตั้งค่าทั่วไปของเครื่อง), Sounds & alerts (ส่วนของการตั้งค่าเสียง), Display (ส่วนของการตั้งค่าหน้าจอ), Calls (ส่วนของการตั้งค่าการโทร), และ Connectivity (ส่วนของการตั้งค่าการเชื่อมต่อต่างๆ)คุณสมบัติการใช้งานด้านการโทรคุณสมบัติที่เกี่ยวกับการโทรอย่างแรกคือ สมุดโทรศัพท์ในเมนู Contacts เก็บบันทึกลงในเครื่องได้ 1,000 ตำแหน่ง ในส่วนที่เก็บไว้ใน SIM Card ก็ดูได้ง่ายโดยเข้าไปที่เมนู Contacts>Options>SIM Contacts ถ้าต้องการเพิ่มรายชื่อให้เลือกที่ New contact แต่บันทึกได้เพียงชื่อ และหมายเลข 1 เบอร์เท่านั้น แต่ถ้าบันทึกลงในเครื่องสามารถใส่รายละเอียดต่างๆ ของผู้ติดต่อได้ตั้งแต่ชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล์ เว็บไซต์ รูปคนโทรเข้า เสียงเรียกเข้าเฉพาะ โทรออกด้วยเสียง ตำแหน่งงาน บริษัท ที่อยู่ ข้อมูลเพิ่มเติม และวันเดือนปีเกิดสำหรับการเช็คดูรายการโทรเข้าออกดูได้จากเมนู Calls โดยแยกเป็นรายการโทรรวมทั้งหมด สายที่รับ สายที่โทร และสายที่ไม่ได้รับ ซึ่งจะแสดงพร้อมกับรายละเอียดวันที่และเวลาโทรใต้เบอร์โทร รวมทั้งสามารถลบรายการโทรที่ไม่ต้องการแสดงได้ ส่วนการเช็คดูเวลาที่เกี่ยวกับโทรทั้งหมดก็สามารถเข้าไปดูได้ที่เมนู Setting>Calls>Time&Cost >Call Timers ซึ่งจะแสดงเวลาที่โทรครั้งล่าสุด เวลาที่ใช้โทรรวม และสายโทรออก ด้านการรับ-ส่งข้อความการรับ-ส่งข้อความ เข้าไปใช้งานได้ที่เมนู Messaging รองรับการใช้งานทั้งแบบ SMS, MMS, Voice Message, Email และ My Friend ซึ่งเป็นเมนูสำหรับแชทผ่านเครือข่าย GPRS ที่ต้องรอให้ทางเครือข่ายเปิดให้บริการรองรับการใช้งานก่อน พร้อมทั้งมีโปรแกรมอ่าน RSS reader สำหรับรับข่าวสารต่างๆ จากเว็บไซต์ผ่านเครือข่าย GPRS และในส่วนของการรับส่ง Email นั้นรองรับทั้งในรูปแบบ POP3, SMTP และ IMAP4ด้านออร์แกไนเซอร์และส่วนของออร์แกไนเซอร์มีมาให้ครบทั้ง Alarms การตั้งเสียงปลุก สามารถตั้งเสียงปลุกเตือนได้ 5 ครั้ง, Applications แอบพลิเคชัน, Video Call, Calendar ปฏิทินสำหรับสร้างนัดหมายต่างๆ, Tasks สำหรับสร้างรายการเตือน, Notes สำหรับจดบันทึกข้อความ, Synchronization การซิงโครไนซ์, Timer นาฬิกาตั้งเวลา, Stopwatch นาฬิกาจับเวลา, Calculator เครื่องคิดเลข และ Code memo ส่วนบันทึกรหัสด้านมัลติมีเดียคุณสมบัติด้านมัลติมีเดียเริ่มด้วยเมนู Walkman ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องเล่นเพลงดิจิทัล โดยรองรับไฟล์เพลง MP3, AAC, AAC+ และ eAAC+ ด้วยระบบเล่นเพลงแบบสุ่มและวนซ้ำ สามารถเลือกปรับแต่ง Equalizer ได้ 5 แบบ มีระบบขยายเสียงสเตอริโอ (Stereo widening) ตั้งค่า Visualizations และเปลี่ยน Skins ได้ และยังสามารถดาวน์โหลดเพลงจากเมนู PlayNow มาฟังเพิ่มเติมได้อีกด้วยนอกจากนี้ยังมีเครื่องเล่นวิดีโอ ที่รองรับการเล่นไฟล์วิดีโอในรูปแบบ 3GP และ MP4 โดยแสดงผลได้แบบเต็มจอในแนวนอน พร้อมทั้งสามารถส่งต่อและใช้เป็นสายวิดีโอเรียกเข้าได้ กับฟังก์ชัน TrackID บริการจดจำเพลง โดยอัดคลิปเพลงสั้นๆ จากวิทยุเอฟเอ็ม หรือสถานีเพลงจากภายนอก และส่งทางอินเทอร์เน็ต หลังจากนั้นจะได้รับข้อมูลชื่อเพลง ศิลปินและชื่ออัลบั้ม (ถ้ามี)ด้านการถ่ายภาพมีกล้องดิจิทัลความละเอียด 2.0 ล้านพิกเซล ถ่ายได้ทั้งภาพนิ่งและวิดิโอ โดยภาพนิ่งตั้งค่าขนาดภาพสูงสุดได้ 1600x1200 พิกเซล ซูมดิจิทัล 2.5 เท่า พร้อมโหมดถ่ายภาพ 4 แบบคือ ปกติ พาโนราม่า เฟรม และถ่ายเร็ว มี Night Mode นอกจากนี้ยังเปลี่ยนสีเอฟเฟค ปรับสมดุลสีขาว เลือกคุณภาพรูปภาพ และตั้งเวลาในการถ่ายได้ และเมื่อถ่ายเสร็จสามารถแก้ไขได้ด้วยโปรแกรมตกแต่งภาพ PictureDJส่วนโหมดวิดีโอ บันทึกได้พร้อมเสียงในรูปแบบไฟล์ .3GP เลือกโหมดการถ่ายได้ทั้งแบบ For picture msg สำหรับส่ง MMS กับแบบ High Quality video คุณภาพสูง โดยเลือกขนาดของภาพได้สูงสุดขนาด 176x144 พิกเซล ซูมดิจิทัล 2.5 เท่า มี Night Mode และเปลี่ยนสีเอฟเฟค ปรับสมดุลสีขาวได้ และยังมีกล้องดิจิทัลอีกตัวหนึ่งสำหรับใช้งาน Video Call อยู่บริเวณด้านหน้าเครื่องติดกับช่องลำโพงสนทนา
ด้านการเชื่อมต่อด้านการเชื่อมต่อของ Sony Ericsson W880i เริ่มด้วยการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตทำได้ด้วย WAP Browser เวอร์ชัน 2.0 ผ่านเครือข่ายความเร็วสูง GPRS Class 10 นอกจากนี้ตัวเครื่องยังรองรับสัญญาณ RSSเพื่อดูข่าวสารล่าสุดแบบนาทีต่อนาที รวมทั้งเนื้อหาอื่นๆ จากเว็บไซต์ พร้อมด้วยหน่วยความจำในเครื่องขนาด 16 MB และเพิ่มหน่วยความจำภายนอกได้อีกด้วย Memory Stick Micro สูงสุด 2 GBส่วนการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ นั้นเชื่อมต่อได้ครบถ้วนทั้งแบบไร้สายผ่านทาง Bluetooth ซึ่งเชื่อมต่อได้กับชุดหูฟังสเตอริโอไร้สาย Bluetooth Stereo พร้อมรองรับเทคโนโลยี A2DP หรือกับอุปกรณ์ดิจิทัลอื่นๆ ที่รองรับเพื่อโอนถ่ายข้อมูล และเชื่อมต่อผ่านทางสายดาต้าลิงค์แบบ USB เพื่อซิงโครไนซ์หรือโอนถ่ายข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เชิงเทคนิคการทดสอบฟังก์ชันพิเศษในเครื่อง Sony Ericsson W880i ได้ทำการทดสอบถ่ายภาพจากกล้องดิจิทัลความละเอียด 2.0 ล้านพิกเซล เริ่มจากการถ่ายภาพนิ่งในโหมด Normal เลือกขนาดของภาพสูงสุดในขนาด 1600 x 1200 พิกเซล และคุณภาพของภาพแบบ Fine โดยถ่ายในระยะใกล้ที่สุดในการ Focus กับวัตถุที่ถ่ายประมาณ 0.12 เมตร ผลปรากฏว่าภาพที่ถ่ายมีความชัดเจนดี ส่วนการถ่ายภาพทั่วไปโดยรวมแล้วภาพที่ถ่ายมาอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนโหมดวิดีโอนั้น ได้ทำการทดสอบโดยเลือกโหมด High quality video และเลือกขนาดของภาพสูงสุดในขนาด 176x144 พิกเซล ผลทดสอบปรากฏว่าความสามารถในการบันทึกวิดีโออยู่ในระดับดีปานกลางระยะเวลาในการเปิดเครื่องแบตเตอรี่ของเครื่องรุ่นนี้เป็นแบบ Li-Polymer ตามข้อมูลระบุไว้ว่าสามารถเปิดเครื่องรอรับสายได้นานสูงสุด 350 ชั่วโมงและสนทนาต่อเนื่องได้นานสูงสุด 8 ชั่วโมง จากการใช้งานจริง โดยสนทนาประมาณวันละ 30 นาทีแบบไม่ต่อเนื่อง จากนั้นใช้งานถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ รวมทั้งฟังเพลง เล่นเกม และใช้งานอินเทอร์เน็ต เครื่องนี้สามารถอยู่ได้ประมาณ 2-3 วัน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับเป็นที่น่าพอใจครับอุปกรณ์เสริมชุดอุปกรณ์ในกล่องประกอบด้วยมีตัวเครื่อง Sony Ericsson W880i, แบตเตอรี่ Li-Polymer ขนาด….mAh จำนวน 1 ก้อน, สายชาร์จไฟ, การ์ดหน่วยความจำแบบ Memory Stick Micro ขนาด 1 GB, สายดาต้าลิงค์แบบ USB, ชุดหูฟังสเตอริโอ, คู่มือการใช้งาน W880i Quick Guide, และคู่มือการใช้งานฉบับเต็มจุดเด่นของ Sony Ericsson W880i คือ เป็นโทรศัพท์มือถือ Walkman Phone ที่ดีไซน์รูปทรงแบบ Slim ซึ่งนับเป็นโทรศัพท์มือถือเครื่องแรกของ Sony Ericsson ที่บางที่สุดในขณะนี้ นอกจากฟังก์ชัน Walkman ที่เป็นฟังก์ชันหลักแล้วเพียบพร้อมไปด้วยฟังก์ชันการใช้งานมัลติมีเดียต่างๆ และยังรองรับการใช้งานในเครือข่าย 3G อีกด้วย

การเลือกซื้อโน๊ตบุค

เลือกโน้ตบุ๊กคู่ใจในแบบฉบับของคุณ

ณ ช่วงเวลาอันเร่งรีบนี้ อุปกรณ์ไอทีแบบเคลื่อนที่อย่าง "โน้ตบุ๊ก" กำลังเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจมากสำหรับนักธุรกิจหรือบุคคลที่ต้องการความสะดวกสบายในการใช้งาน เพราะในปัจจุบันนี้การเติบโตของโน้ตบุ๊กนั้น กำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีความสามารถ ที่เทียบเท่าหรือ สูงกว่าเครื่องเดสก์ทอปบางตัวด้วยซ้ำไปแล้วจึงทำให้โน้ตบุ๊กเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยในเรื่องของความคล่องตัวในการใช้งาน อีกทั้งยังมีสมรรถนะที่มากเกินตัวด้วยซ้ำไป และด้วยเทคโนโลยี Sonoma ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มใหม่ล่าสุดของ Intel Centrino Mobile Technology จึงทำให้โน้ตบุ๊กมีความสามารถที่เพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น อีกยังในตอนนี้ยังมีโน้ตบุ๊กแบบ BTO กำเนิดขึ้นมาอีก ซึ่งสามารถที่จะทำการจัดสเปคเองได้อีก ทำให้ถูกใจผู้ใช้อีกหลายๆ คนเลยทีเดียว

ส่วนประกอบต่างๆ ของโน้ตบุ๊ก โดยส่วนใหญ่แล้วโน้ตบุ๊กจะมีโครงสร้างและลักษณะที่คล้ายๆ กัน จะมีแตกต่างกันกตรงที่น้ำหนัก สเปกภายในเครื่อง วัสดุที่ใช้ทำตัวเครื่อง และสีสัน รูปร่างหน้าตา ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของโน้ตบุ๊กของแต่ละยี่ห้อ ส่วนประกอบและโครงสร้างจะคล้ายคลึงกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเดสก์ท็อป ทั่วๆ ไป คือมีทั้ง ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ต่างๆ ว่าแล้วก็มาเริ่มลงรายละเอียดกันเลยดีกว่าครับ
"โปรเซสเซอร์" หรือ "ซีพียู" (CPU : Central Processing Unit) หัวใจสำคัญที่ส่งผลโดยตรงกับความเร็วในการประมวลผลของโน้ตบุ๊กก็คือ "ซีพียู" สำหรับโน้ตบุ๊กนี้นั้น จะมีซีพียูที่ผลิตมาใช้งานกับโน้ตบุ๊กหลักๆ อยู่ 3 ค่ายด้วยกัน คือ อินเทล (Intel), เอเอ็มดี (AMD) และทรานเมต้า (Transmeta) ซึ่งทั้งสามค่ายต่างก็ต่อสู้กันมาโดยตลอด แต่ค่ายที่ได้รับความนิยมและ ประสบผลสำเร็จมากที่สุดก็เห็นจะเป็นซีพียูจากค่ายของอินเทลผู้นี้นี่เอง ซีพียูที่ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กนั้นจะมีด้วยกันหลายแบบ และหลาย ประเภท ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงแต่เฉพาะซีพียูที่มีขายในปัจจุบัน และเป็นซีพียูรุ่นที่หน้าสนใจของตลาด โดยจะเริ่มจากซีพียูของอินเทลก่อนเลยครับ
ซีพียูอินเทลหลักๆ แล้วก็จะมีอยู่ด้วยกัน 3 รุ่น คือ เซลเลอรอน, เพนเทียมโฟร์ และเพนเทียมเอ็ม ซึ่งในแต่ละรุ่นก็ยังจะมีการแตกไลน์ออกไปอีก คือมีทั้งรุ่น ที่เป็นโมบาย (Mobile) และเป็นรุ่นธรรมดา แต่ ณ ปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ผลิตโน้ตบุ๊กจะเลือกใช้ซีพียูที่เป็นโมบายเสียเป็นส่วนใหญ่ครับ

Mobile Intel Celeron Processor ในส่วนของซีพียูที่เป็นโมบายนั้น จะถูกแบ่งออกเป็น 3 รุ่นด้วยกัน ซึ่งในการแบ่งรุ่นนี้นั้น จะใช้การกินกระแสไฟ เป็นตัวบ่งบอก โดยจะมีในรุ่น Low Volt ซึ่งจะมีความเร็ว 866MHz, 733MHz ความเร็วบัส 133MHz FSB และ 650MHz ความเร็วบัส 100MHz FSB และรุ่น Ultra Low Volt จะมีความเร็ว 800MHz, 733MHz ความเร็วบัส 133MHz FSB และรุ่นความเร็ว 700MHz, 650MHz ความเร็วบัส 100MHz FSB นอกจาก
นั้นก็จะเป็นรุ่นธรรมดาซึ่งจะมีอยู่สองส่วนด้วยกันคือ รุ่นความเร็วบัส 133MHz ซึ่งจะมีความเร็ว 1.06GHz, 1.13GHz, 1.20GHz, 1.26GHz และ 1.33GHz ส่วนอีกรุ่นจะเป็นรุ่นความเร็วบัส 400MHz FSB ก็จะมีความเร็วตั้งแต่ 1.40GHz ถึง 2.50GHz โดยทั้งหมดนี้จะใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ 0.13 ไมครอน และมีขนาด L2 Cache 256KB กับ 128KB และมีชิปเซตที่สามารถรองรับการทำงานได้ดังนี้ 440ZX, 440MX, 815EM, 830MP, 830M, 830MG ซึ่งจะใช้หน่วยความจำแบบ SDRAM และ 852GM จะใช้หน่วยความจำแบบ DDR SDRAM

Intel Celerron Processor ซีพียูอินเทลซลเลอรอนจะใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ 0.13 ไมครอน และมีความเร็วตั้งแต่ 2.20GHz ถึง 2.80 GHz ใช้ความเร็วบัส 400MHz FSB มีขนาด L2 Cache 128KB สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำ แบบ DDR SDRAM ชิปเซตที่สามารถรองรับได้ก็จะมี 852GM, 852GME และ 852PM
Intel Celeron M Processor อินเทลเซลเลอรอนเอ็มเป็นซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุดของตระกูลเซลเลอรอน และเป็นเจนเนอร์เรชันใหม่ของ ซีพียูเซลเลอรอน ด้วย ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 2 รุ่นคือ รุ่นธรรมดา (Standard Volt) มีความเร็ว 1.20GHz, 1.30GHz และ 1.40 GHz ส่วนอีกรุ่นก็จะเป็นรุ่น Ultra Low Volt มีความเร็ว 800MHz และ 900MHz ใช้เทคโนโลยี ในการ ผลิตที่ 0.13 ไมครอน มีขนาด L2 Cache 512KB มีความเร็วบัส 400MHz FSB ใช้งานกับชิปเซตตระกูล 855 และชิปเซต 852GM
Mobile Intel Pentium III Processor-M สำหรับซีพียูอินเทลเพนเทียมทรีเอ็มรุ่นนี้นั้น ยังคงมีให้เห็นกันอยู่บ้าง แต่เริ่มลดลงแล้ว เพราะได้ถูกแทนที่ด้วย ซีพียูอินเทลเพนเทียมเอ็มที่เป็นเซนทริโน โดยซีพียูอินเทลเพนเทียมทรีเอ็มจะใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ 0.13 ไมครอน มีขนาด L2 Cache 512KB และจะแบ่งเป็นรุ่น Low Volt ได้แก่ความเร็ว 1GHz, 933MHz, 866MHz และ 800MHz ที่มีความเร็วบัส 133MHz FSB และความเร็ว 850MHz กับ 800A MHz ที่มีความเร็วบัส 100MHz FSB ส่วนในรุ่นประหยัดพลังงานอย่าง Ultra Low Volt จะมีความเร็วที่ 933 MHz, 866MHz และ 800MHz ความเร็วบัส 133MHz FSB และรุ่นความเร็ว 900MHz, 850MHz และ 800MHz ที่ความเร็วบัส 100MHz FSB ใช้งานกับชิปเซตอินเทลตระกูล 830 สนับสนุนการทำงานกับ หน่วยความจำ SDRAM ความเร็ว 133MHz

Mobile Intel Pentium4 Processor ซีพียูตระกูลอินเทลเพนเทียมโฟร์ เป็นอีกซีรี่หนึ่งที่เต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยขนาด L2 Cache 512KB ความเร็วเร็วบัส 533MHz FSB ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ 0.13 ไมครอน มีความเร็วตั้งแต่ 2.40GHz, 2.66GHz, 2.80GHz และ 3.06GHz นอกจากนั้นก็ยังจะมีซีพียูที่รองรับเทคโนโลยี Hyper-Threading ตั้งแต่ความเร็ว 2.66GHz, 2.80GHz, 3.06GHz และ 3.20GHz ทำงานร่วมกับชิปเซต 852 GME และ 852PM ที่สนับสนุนการทำงานกับหน่วยความจำ DDR SDRAM รองรับความเร็ว 333/ 266 MHz

Mobile Intel Pentium4 Processor-M อินเทลเพนเทียมโฟร์เอ็ม เป็นซีพียูที่ผลิตด้วยโทคโนโลยี 0.13 ไมครอน พร้อมด้วย Enchanced Intel SpeedStep Technology ที่เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยประหยัดพลังงานจากแบตเตอรี่ และเป็นการปรับ ความเร็วซีพียูในการใช้งานให้เหมาะสมกับแอพพลิเคชันนั้นๆ ใช้ความเร็วบัส 400MHz FSB โดยจะมีความ เร็วตั้งแต่ 1.40GHz ถึง 2.60GHz และจะใช้งานร่วมกับชิปเซตตระกูล Mobile Intel 845 สนับสนุนการ ทำงานกับหน่วยความจำ DDR SDRAM รองรับความเร็ว 200/266MHz

Intel Pentium M Processor (Banias\Dothan) สำหรับซีพียูตระกูลนี้จัดว่าเป็นรุ่นที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน และประสิทธิภาพในการประหยัด พลังงานที่ดีที่ สุดอีกรุ่นหนึ่ง ที่เป็นรุ่นมาปฏิวัติวงการโน้ตบุ๊กของโลกเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นการรวบรวมเอาความสามารถ ในการ ใช้งานแบบไร้สายเข้าไว้ด้วยในตัว อีกทั้งยังเป็นการผสมผสานการทำงานที่ยอกเยี่ยม จึงถือว่าเป็นสุดยอดซีพียู แห่งยุคเลยก็ว่าได้ ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ 0.13 ไมครอน (130nm) มีขนาด L2 Cache ถึง 1MB ใช้ความ เร็วบัส 400MHz FSB ซึ่งจะมีทั้งรุ่น Standard, Low Volt และ Ultra Low Volt โดยในรุ่นธรรมดา (Standard) จะมีความเร็ว 1.30GHz, 1.40GHz, 1.50GHz, 1.60GHz และ 1.70GHz ส่วนในรุ่น Low Volt จะมีความเร็ว 1.10GHz, 1.20GHz และ 1.30GHz และส่วนในรุ่น Ultra Low Volt จะมีความเร็ว 900MHz, 1GHz และ 1.10GHz ใช้งานร่วมกับชิปเซตอินเทล 855GM, 855PM และ 855GME สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำ DDR SDRAM สามารถที่จะรองรับหน่วยความจำได้สูงสุดถึง 2GB และล่าสุดเพิ่งเปิดตัวในบ้านเราไปเมื่อวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา กับเจนเนอร์เรชันใหม่ของซีพียูอินเทล "เซนทริโน" โมบายเทคโนโลยี โค้ดเนม Dothan ที่ใช้สถาปัตยกรรม 90nm ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ 0.13 ไมครอน กับ L2 Cache ขนาดมหึมาถึง 2MB (2048KB) ใช้ความเร็วบัส 400MHz FSB ซึ่งจะมีความเร็ว ตั้งแต่ 1.70GHz, 1.80GHz และ 2GHz ใช้งานร่วมกับชิปเซตอินเทล 855GM, 855PM และ 855GME สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำ DDR SDRAM สามารถที่จะรองรับหน่วยความจำได้สูงสุดถึง 2GB
เทคโนโลยี Sonoma แพลตฟอร์มใหม่ล่าสุดของ Intel Centrino Mobile Technology เทคโนโลยี Sonoma นั้นได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อต้นปี 2548 นี้เอง ซึ่งหลายคนคงจะได้ประจักษ์ในความสามารถที่เปี่ยมประสิทธิภาพของมันแล้ว โดยเทคโนโลยีนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอีกขั้นหนึ่งของวงการโน้ตบุ๊กในบ้านเรา แพลตฟอร์ม Sonoma นี้ ยังคงได้รับประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมจาก Intel Centrino Mobile Technology อยู่แต่ก็มีอยู่หลายส่วนที่มีการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพที่ทรงพลังมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านมาตรฐานของซีพียูเอง ชิปเซตตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพที่สูงมากยิ่งขึ้น หน่วยความจำที่เพิ่มความสามารถโดยรวมของระบบให้โดดเด่นมากขึ้นกว่าเดิม ระบบการฟิก PCI Express และมาตรฐานการสื่อสารแบบไร้สายที่มีอัตราการส่งข้อมูลที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
สิ่งที่มาพร้อมกับแพลตฟอร์ม Sonoma การเปลี่ยนแปลงของระบบ Sonoma นี้มีอยู่หลายส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงและก็มีบางส่วนที่ยังคงใช้ระบบ Intel Centrino Mobile Technology อยู่ มาตรฐานซีพียูที่มากับแพลตฟอร์ม Sonoma นี้มาพร้อมกับซีพียู Intel Pentium M ในรหัส Aluiso ที่มีรุ่นใหม่ๆ ออกมาอีกหลายรุ่น โดยมีความเร็วที่แตกต่างกันออกไปในช่วงระหว่าง 1.2 GHz - 2.13 GHz โดยมีทั้งที่เป็นรุ่น ULV (Ultra Low Voltage) และรุ่น LV (Low Voltage) โดยจะมีรุ่นท็อปอย่าง Intel Pentium M 770 ซึ่งเป็นรุ่นที่มีความเร็วสูงมากถึง 2.13 GHz และมีหน่วยความจำแคช L2 ที่ขนาด 2MB พร้อมกับระบบบัส (FSB) 533 MHz ถือว่าเป็นซีพียูความเร็วสูงอีกรุ่นที่น่าสนใจมาก ชิปเซตเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยได้สลัดคราบของชิปเซตเดิมอย่าง Intel 855 ทิ้งไปและได้เสริมความสามารถให้สูงขึ้นด้วยชิปเซตตัวใหม่อย่าง Intel 915 Express เข้าไป ซึ่งชิปเซตในตระกูล Intel 915 Express นี้สามารถแบ่งได้เป็น 4 รุ่นหลักๆ คือ Intel 915PM, Intel 915GM, Intel 915GMS และ Intel 910GML โดย Intel 915PM ถือเป็นรุ่นที่มาพร้อมกับระบบกราฟิกแยกต่างหาก ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการแสดงด้านกราฟิกนั้นสูงมากยิ่งขึ้น ส่วนรุ่นที่เหลือนั้นได้พกพาชิปเร่งกราฟิกจาก Intel Graphics media Accelerator 900 เพื่อเพ่ามประสิทธิภาพในการประมวลผลให้ดีมากขึ้น หน่วยความจำหลักแบบ DDRII นั้น เป็นมาตรฐานใหม่สำหรับคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กซึ่งเราคงจะเห็นกันในเครื่องเดสก์ทอปกันมาบ้างแล้วว่ามีประสิทธิภาพที่สูงมากเพียงใด ที่สำคัญมีการเพิ่มค่าแบนด์วิดท์เพิ่มขึ้นจากเดิม โดยหน่วยความจำแบบ DDRII นี้นั้นมีให้เลือกหลายรูปแบบ เช่น DDRII 400, DDRII 533 และ DDRII 677 มีจำนวนพิน 200 pin ให้ค่าแบนด์วิดท์ 3.2GB/s, 4.3GB/s และ 5.3GB/s ตามลำดับ โดยกินไฟเพียงแค่ 1.8 โวลต์เท่านั้น สิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอีกอย่างคือใช้ระบบกราฟิกแบบ PCI Express ซึ่งจะผสมผสานการใช้งานร่วมกับชิปเซต Intel 915PM โดยเฉพาะ ส่วนชุดเร่งกราฟิกอย่าง Intel Graphics media Accelerator 900 นั้น ถือเป็นชุดกราฟิกที่รวมอยู่บนชิปเซต แต่ก็ยังมีความโดดเด่นมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ Dynamic Video Memory Technology (DVMT) สำหรับการดึงทรัพยากรระบบมาใช้ได้อย่างคุ้มค่า ถือว่มีความสามารถที่ไม่ทิ้งกับระบบกราฟิกที่แยกต่างหากเลย อีกส่วนหนึ่งที่จะทำให้ระบบ Sonoma นั้นสมบูรณ์มากที่สุดนั้น คือมาตรฐานการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้ชิปเซต Intel PRO/Wireless 2915ABG ซึ่งสนับสนุนเทคโนโลยีไร้สายทั้ง 3 มาตรฐานคือ 802.11a, 802.11b และ 802.11g ทำให้ครอบคลุมทุกการใช้งานมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ระบบ Sonoma ยังเพิ่มลูกเล่นใหม่ๆ อีกมาก เช่น ระบบเสียงแบบดิจิตอล 7.1 แชนแนล เพื่อเพิ่มความบันเทิงให้มากยิ่งขึ้นด้วย แต่ในปัจจุบันระบบ Sonoma ในโน้กบุ๊กหลายๆ แบรนด์นั้น ยังคงนำเทคโนโลยี่ดังกล่าวมาใส่ไม่ครบ เนื่องจากยังเป็นช่วงที่ของการเปลี่ยนแปลงช่วงแรกๆ ซึ่งอีกไม่นานเราคงจะเห็นระบบ Sonoma นี้อย่างสมบูรณ์แบบและครบครันมากกว่านี้ครับ
การทำงานของชิปเซต Intel 915PM Express
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อโน้ตบุ๊ก เลือกซื้ออย่างไรให้คุ้มค่า ทางทีมงานคงไม่สามารถจะไประบุได้ว่าคุณจะต้องซื้อเครื่องรุ่นนี้ ยี่ห้อนั้น ในราคาเท่านั้นเท่านี้ เพราะมันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจิตใจและความต้องการ รวมทั้งความชื่นชอบของแต่ละบุคคลด้วยครับ เพราะในความเป็นจริงแล้วนั้น คุณเองต่างหากที่จะต้องเป็นผู้ที่ตัดสินใจในการเลือกซื้อ ทางทีมงานมีหน้าที่เพียง ในการนำเสนอข้อมูลให้เท่านั้น และข้อมูลต่างๆ ที่ทางทีมงานจะนำเสนอต่อไปนี้นั้น ถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญๆ ที่ไม่ควรจะมองข้ามหรือพิจารณา ในการเลือกซื้อ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา "โน้ตบุ๊ก" เลยสักนิด และทางทีมงานก็อยากที่จะให้คุณๆ ทั้งหลายได้คิดอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อโน้ตบุ๊กสักเครื่อง ไม่ว่าจะมีราคาเท่าไรก็ตาม เพราะสิ่งหนึ่งที่ต้องจดจำไว้อย่างก็คือเรื่องของการอัปเกรดนั้นเองครับ เพราะตัวที่คุณสามารถจะอัปเกรดได้นั้นก็จะ มีเพียงแค่การ เพิ่มแรม เพิ่มความจุฮาร์ดดิสก์ เปลี่ยนซีดีรอม แต่ไม่สามารถเปลี่ยนซีพียู หรือองค์ประกอบอื่นๆ อีกหลายอย่างได้ เว้นเสียแต่ว่าจะเป็นเครื่องที่ได้ถูกออกแบบมา ให้สามารถที่จะเปลี่ยนซีพียูได้ แต่นั้นอาจจะต้องแลกมาด้วยราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วยครับ

NOTEBOOK ASUS A8Jn17DSM100TD


Specification

Processor Intel Core™ Duo Processor T2250 1.73 GHz

Chipset Mobile Intel 945 PM Express Chipset

Memory 512 MB DDR2 667 MHz DRAM, 2x SO-DIMM socket expandable to 2GB

Display 14.1 " WXGA(1280x800) LCD Color Shine(glare-type) LCD

VGA NVidia GeForce Go7300 128MB with TurboCache

Hard disk 100 GB

Modem/FAX V.92 56K

Optical Drive DVD Multi write

Expansion port 1 x VGA port/Mini D-sub 15-pin for external monitor
1 x Headphone-out jack (SPDIF)
1 x Microphone-in jack
1 x RJ11 Modem jack for phone line
1 x RJ45 LAN Jack for LAN insert
5 x USB 2.0 ports, 1x IEEE 1394 port
1 x TV Out (S-Video composite)
1 x Express Card
1 x Infrared Port (SIR-115.2Kbps supported)
1 x DVI Port
Built-in Camera 0.35 Mega Pixels

Battery 6 cell, 3200mAh/4800mAh, 35/53Whrs

Dimension 335 x 245 x 34.8~37.3 mm, 2.39kg